วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2559

Font,Type,Typeface,Character,Alphabet,Typography

สืบค้นคำว่า Font,Type,Typeface,Character,Alphabet,Typography


ความรู้เรื่องฟอนท์
        ฟอนท์ (Font)   หรือรูปแบบตัวอักษรมีอยู่มากมายในวินโดว์ส์ การเลือกใช้งานฟอนท์นั้นขึ้นอยุ่กับความเหมาะสม ในแต่ละเอกสาร  คุณมักจะเห็นว่าในเอกสารเดียวกันนั้นมีการใช้ฟอนท์มากกว่า 1 รูปแบบเสมอ ฟอนท์ทุก ๆ ฟอนท์จะมีชื่อประจำตัวอยู่ เช่นAril, CordiaUPC, JasmineUPC เป็นต้น ฟอนท์บางฟอนท์เป็นฟอนท์สากล คือ รู้จักกันอย่างแพร่หลาย แต่ฟอนท์หลาย ๆ ฟอนท์นั้นอาจรุ้จักในวงจำกัดเพราะฟอนท์ดังกล่าวได้ถูกออกแบบไว้ ใช้สำหรับภาษาที่ใช้ในแต่ละประเทศ ตัวอย่างเช่น ฟอนท์ในตระกูล DB หรือ ฟอนท์ที่ลงท้ายด้วย UPC ฟอนท์เหล่านี้เป็นฟอนท์ที่ถูกสร้างให้รองรับการใช้งานกับภาษาไทย เป็นต้น
http://www.chandra.ac.th/office/ict/document/it/it03/font.htm



ลักษณะทั่วไป[แก้]

เชิงอักษร[แก้]

Serif and sans-serif 02.svgแบบอักษรมีเชิง (เซริฟ)
Serif and sans-serif 01.svgแบบอักษรไม่มีเชิง (ซานส์เซริฟ)
Serif and sans-serif 03.svg"เชิง" คือส่วนที่เน้นสีแดง
ไทป์เฟซสามารถแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ แบบมีเชิง (serif) และแบบไม่มีเชิง (sans serif)
แบบเซริฟคือแบบอักษรที่มีขีดเล็ก ๆ อยู่ที่ปลายอักษรเรียกว่า เซริฟ ดังที่ปรากฏในตัวอักษรตระกูล Timesแบบอักษรชนิดนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าแบบโรมัน (roman) ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากอักษรที่จารึกไว้ในหินของอาณาจักรโรมัน เซริฟมีส่วนช่วยในการกวาดสายตาไปตามตัวอักษร ทำให้อ่านง่าย และนิยมใช้สำหรับพิมพ์เนื้อความ
ส่วนแบบซานส์เซริฟก็มีความหมายตรงข้ามกันคือไม่มีขีดที่ปลายอักษร และมีชื่อเรียกอีกอย่างว่าแบบกอทิก (gothic) อักษรชนิดนี้ไม่เหมาะกับการเป็นเนื้อความ แต่เหมาะสำหรับใช้พาดหัวหรือหัวเรื่องที่เป็นจุดเด่นซึ่งมองเพียงครั้งเดียว อย่างไรก็ตาม ฟอนต์สมัยใหม่ที่ได้รับการออกแบบในคอมพิวเตอร์ อาจมีทั้งแบบเซริฟและซานส์เซริฟปะปนกันในฟอนต์หนึ่งๆ

ความกว้างอักษร[แก้]

Propvsmono.svg
หากจะแบ่งประเภทตามความกว้างของอักษร สามารถแบ่งได้สองแบบคือ แบบกว้างตามสัดส่วน (proportional) และแบบกว้างขนาดเดียว (monospaced)
ผู้คนส่วนมากนิยมไทป์เฟซแบบกว้างตามสัดส่วน ซึ่งความกว้างอักษรจะแปรผันไปตามความกว้างจริงของรูปอักขระ เนื่องจากดูเหมาะสมและอ่านง่าย แบบอักษรประเภทนี้พบได้ทั่วไปตามสิ่งพิมพ์ต่างๆ รวมไปถึง GUI ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (อาทิโปรแกรมประมวลคำหรือเว็บเบราว์เซอร์) แต่ถึงกระนั้น รูปอักขระที่ใช้แทนตัวเลขในหลายไทป์เฟซมักออกแบบให้มีความกว้างเท่ากันหมด เพื่อให้สามารถจัดเรียงได้ตรงตามคอลัมน์
ส่วนไทป์เฟซแบบกว้างขนาดเดียวเป็นการออกแบบที่มีจุดประสงค์เฉพาะ มีความกว้างอักษรเท่ากันหมดไม่ขึ้นอยู่กับรูปอักขระ คล้ายอักษรที่พิมพ์จากเครื่องพิมพ์ดีดซึ่งมีคอลัมน์ของตัวอักษรตรงกันเสมอ แบบอักษรชนิดนี้มีที่ใช้ในระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์บางชนิดเช่น DOSUnix และเป็นที่นิยมในหมู่โปรแกรมเมอร์สำหรับแก้ไขซอร์สโคด ศิลปะแอสกี (ASCII Art) เป็นตัวอย่างหนึ่งที่จำเป็นต้องใช้อักษรแบบกว้างขนาดเดียวเพื่อการแสดงผลที่สมบูรณ์
ถ้าหากพิมพ์ตัวอักษรสองบรรทัดด้วยจำนวนอักษรที่เท่ากันในแต่ละบรรทัด ไทป์เฟซแบบกว้างขนาดเดียวเราจะเห็นความกว้างทั้งสองบรรทัดเท่ากัน ในขณะที่แบบกว้างตามสัดส่วนจะกว้างไม่เท่ากัน และอาจไม่กว้างเท่าเดิมเมื่อเปลี่ยนไทป์เฟซ เนื่องจากรูปอักขระกว้างเช่น W, Q, Z, M, D, O, H, U ใช้เนื้อที่มากกว่า และรูปอักขระแคบเช่น i, t, l, 1 ใช้เนื้อที่น้อยกว่าความกว้างเฉลี่ยของอักษรอื่นในไทป์เฟซนั้นๆ

การวัดขนาดฟอนต์[แก้]

เส้นสมมติกำกับฟอนต์
ความสูง 1 em คือความสูงของตัวพิมพ์ ดังนั้นem dash จึงหมายถึงอักขระขีดที่ยาวกินเนื้อที่ 1 em อยู่ที่มุมล่างขวาของภาพ
ขนาดของไทป์เฟซและฟอนต์ในงานพิมพ์ โดยปกติจะวัดในหน่วย พอยต์ (point) ซึ่งหน่วยนี้ได้กำหนดขนาดไว้แตกต่างกันในหลายยุคหลายสมัย แต่หน่วยพอยต์ที่แท้จริงนั้นมีขนาดเท่ากับ 172 นิ้ว สำหรับการออกแบบอักษร จะวัดด้วยหน่วย เอ็ม-สแควร์ (em-square) เป็นหน่วยที่สัมพันธ์กับฟอนต์ขนาดนั้นๆ โดยหมายถึงความสูงที่สูงกว่าเล็กน้อยตั้งแต่ยอดปลายหางอักษรที่ชี้ขึ้นบน ลงไปถึงสุดปลายหางอักษรที่ชี้ลงล่างของฟอนต์นั้นๆ เอง ซึ่งเท่ากับความสูงของตัวพิมพ์ในงานพิมพ์ หรืออาจสามารถวัดได้ในหน่วยมิลลิเมตรคิว (¼ ของมิลลิเมตร) ไพคา (12 พอยต์) หรือเป็นนิ้วก็ได้
ตัวอักษรส่วนมากใช้เส้นบรรทัดหรือเส้นฐานเดียวกัน (baseline) ซึ่งหมายถึงเส้นตรงแนวนอนสมมติที่ตัวอักษรวางอยู่ในแนวเดียวกัน รูปอักขระของอักษรบางตัวอาจกินเนื้อที่สูงหรือต่ำกว่าเส้นฐาน (เช่น d กับ p) เส้นตรงสมมติที่ปลายหางของอักษรชี้ขึ้นบนและลงล่าง เรียกว่าเส้นชานบน (ascent) และเส้นชานล่าง (descent) ตามลำดับ ระดับของเส้นทั้งสองอาจรวมหรือไม่รวมเครื่องหมายเสริมอักษรก็ได้ ขนาดของฟอนต์ทั้งหมดจะวัดระยะตั้งแต่เส้นชานบนถึงเส้นชานล่าง นอกจากนั้นยังมีเส้นสมมติกำกับความสูงสำหรับอักษรตัวใหญ่กับอักษรตัวเล็ก ความสูงของอักษรตัวเล็กจะวัดจากความสูงของอักษร "x" ตัวเล็ก (x-height) ถ้าเป็นฟอนต์ภาษาไทยให้วัดจากอักษร "บ" ส่วนความสูงของอักษรตัวใหญ่ (cap height) ปกติจะวัดจากเส้นที่อยู่เท่ากับหรือต่ำกว่าเส้นชานบนเล็กน้อยถึงเส้นฐาน อัตราส่วนระหว่างความสูงอักษร x กับเส้นชานบนหรือความสูงอักษรตัวใหญ่มักถูกใช้สำหรับการจำแนกลักษณะของไทป์เฟซ

อักษรไทยกับไทป์เฟซ[แก้]

ตัวอย่างความผิดพลาด ของฟอนต์เพื่อชาติทั้ง 10 ในอะโดบีโฟโต้ชอป 7 บนระบบปฏิบัติการ Mac OS X 10.3.3
ผู้ใช้ส่วนมากสับสนว่า ไทป์เฟซบางชนิดซึ่งมีอักษรไทย สามารถจัดรูปแบบอักษรไทยด้วยไทป์เฟซนั้นๆได้ในโปรแกรมประยุกต์บางโปรแกรมได้ แต่กลับไม่สามารถใช้กับโปรแกรมประยุกต์หลายๆโปรแกรม เช่น ไม่สามารถใช้ไทป์เฟซอักษรไทย ในโปรแกรม อะโดบี โฟโตชอป และ อะโดบี อิลลัสเตรเตอร์ ได้ และมักโทษผู้ผลิตโปรแกรมประยุกต์นั้นๆ แต่อันที่จริงแล้ว เป็นเพราะการอ้างอิงตำแหน่งอักษรในการเข้ารหัสไม่ตรงกัน เพราะตำแหน่งอักษรละติน นั้นอยู่ตรงกันอยู่แล้วทั้งในแอสกีและยูนิโคด จึงไม่พบว่าเป็นปัญหา แต่ตำแหน่งของอักษรไทยในรหัสแอสกีและยูนิโคด นั้นไม่ตรงกัน โดยมากมักพบเป็นตัวอักษรละติน/สัญลักษณ์ประหลาดๆ เช่น  กลายเป็น © เป็นต้น โดยมักพบได้กับไทป์เฟซไทยเกือบทุกตระกูล เช่น UPC หรือแม่แต่ไทป์เฟซบางตัวในชุดฟอนต์เพื่อชาติ ก็เป็นปัญหานี้
นอกจากนี้ยังพบว่า ไทป์เฟซตระกูล UPC ที่เคยใช้จัดรูปแบบอักษรละตินบน ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ เวิร์ด 97 ได้นั้น กลับไม่สามารถใช้จัดรูปแบบอักษรละตินใน ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ เวิร์ด 2000 ขึ้นไปได้ จึงมีการปรับปรุงไทป์เฟซตระกูล UPC เป็น New และ DSE ตามลำดับ โดยไทป์เฟซตระกูลดังกล่าวมี 10 แบบคือ
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%9B%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%9F%E0%B8%8B

Typeface vs Font ต่างกันตรงไหน?

คำว่า “Typeface” และคำว่า “Font” หลายๆ คนมักใช้ผิดๆ ถูกๆ อยู่ครับ แม้แต่บทความหรือตามเว็บไซต์ดังๆ ก็ยังพบว่ามีการใช้ 2 คำนี้แบบผิดๆ อยู่ บทความนี้จะอธิบายความหมายและความแตกต่างของ 2 คำนี้ รวมไปถึงที่มา ลองมาดูซิว่าคุณใช้ 2 คำนี้ถูกหรือเปล่า?

Typeface vs Font

Typeface คือแบบของตัวอักษร ที่ออกแบบหรือคิดค้นขึ้นมาโดย “นักออกแบบตัวอักษร” นั่นเองครับ ซึ่งในแต่ละ typeface จะมี shape ที่แตกต่างกันออกไป ส่วน Font นั้นเป็นเพียง “รูปแบบ” หรือ “ลักษณะ” หนึ่ง ของ typeface ครับ ตัวอย่างเช่น “Helvetica Bold Condensed Italic” เป็นคนละ font กับ “Helvetica Condensed Italic” และ “Helvetica Bold Condensed” แต่ทั้ง 3 fonts นั้น ถือว่าอยู่ใน typeface เดียวกัน ซึ่งก็คือ “Helvetica”
พูดง่ายๆ ก็คือ typeface หมายถึง กลุ่มของ fonts ต่างๆ ที่มี design เหมือนกัน แต่ต่างกันในแง่ของ “ความหนา(font-weight)”, “ความกว้าง(font-stretch)” และ “ความเอียง(font-style)” นั่นเองครับ

ที่มาของคำว่า “Font”

หลายๆ คนอาจสงสัยว่าทำไมถึงเป็นเช่นนี้ บางคนอาจเข้าใจมาตลอดว่า font คือ แบบของตัวอักษร(Typeface) ถ้าอยากหายสงสัยต้องไปศึกษาที่มาของมันครับ “font” มาจากคำว่า “fount” ซึ่งแปลว่า “สิ่งที่ถูกหลอม” ในสมัยก่อน การจะพิมพ์ตัวหนังสือลงไปบนอะไรสักอย่างจะต้องใช้ “ตัวพิมพ์” ซึ่งมักจะสร้างมาจากโลหะที่เอามาหลอมลงในแม่พิมพ์ ซึ่งหมายความว่า หากเราอยากได้ตัวหนา ตัวกว้าง ตัวเอียง หรือแม้แต่ตัวขนาดใหญ่ขึ้น เราจำเป็นจะต้องสร้าง “ตัวพิมพ์” ขึ้นมาใหม่ เพื่อมารองรับตัวอักษรแบบนั้นๆ โดยเฉพาะ และนี่เอง ที่ทำให้เราเรียก “รูปแบบ” ของตัวอักษรที่แตกต่างกันว่า “font” แต่ในปัจจุบัน ซึ่งเปลี่ยนจากยุคของโลหะมาเป็นยุค digital ทำให้ขนาดของตัวอักษรนั้นสามารถเพิ่มหรือลดได้โดยง่าย นิยามของคำว่า “font” จึงเปลี่ยนไปเล็กน้อย เหลือแค่ความต่างกันในด้านของ ความหนา ความกว้าง และ ความเอียง เท่านั้น

fount
Font หรือ “Fount” ในสมัยก่อนทำมาจากโลหะหรือไม้

รู้จักกับ Glyph ใน Typeface

ขึ้นชื่อว่าเป็น typeface จะต้องมี “Glyph” ครับ เพราะมันก็คือ “อักขระ” ที่ใช้แทน ตัวอักษร ตัวเลข เครื่องหมาย รวมไปถึงสัญลักษณ์ต่างๆ นั่นเอง บาง typeface อาจรองรับหลายภาษาด้วยกัน จึงทำให้มี glyph อยู่เป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้เอง จึงมีกระบวนการ “Subsetting” เกิดขึ้นมา ซึ่งก็คือการตัด glyph ที่เราไม่ต้องการออก เพื่อลดขนาดของ font file ให้เล็กลงนั่นเอง

Typeface แบบ Serif กับ Sans-Serif ต่างกันอย่างไร?

เชื่อว่าหลายๆ คน คงเคยได้ยินคำว่า “Serif” กันมาตั้งแต่เริ่มใช้คอมพิวเตอร์ แต่คงมีคนจำนวนไม่น้อย ที่ยังไม่รู้ความหมายของมัน คำว่า “Serif” ก็คือ “การเล่นหาง” นั่นเองครับ typeface ใดก็ตามที่เป็นแบบ serif ก็หมายความว่า ทุกๆ glyph จะมีการตวัดหาง ไม่ได้จบแบบห้วนๆ ซึ่งจะตรงกันข้ามกับ typeface แบบ “Sans-serif” ที่จะไม่มีการเล่นหางใดๆ ทั้งสิ้น (คำว่า “sans” มาจากภาษาฝรั่งเศส ซึ่งแปลว่า “ไม่มี”)
จากการสำรวจ พบว่า typeface แบบ serif นั้นจะอ่านได้ง่ายกว่าหากใช้กับข้อความยาวๆ ซึ่งนี้เอง เป็นสาเหตุที่สื่อสิ่งพิมพ์นิยมใช้ typeface แบบนี้ อย่างไรก็ตาม การใช้ typeface แบบ sans-serif กลับได้รับความนิยมมากกว่าบนเว็บไซต์ เนื่องจากการเล่นหางของ serif นั้น อาจทำให้อ่านได้ยากขึ้น หากดูด้วยหน้าจอที่มีความละเอียดไม่สูงนัก

serif vs san-serif typeface

รู้จักกับ Typeface แบบ Proportional และ Monospaced

typeface แบบ “Proportional” จะมีความกว้างของ glyph ที่แตกต่างกันออกไป เช่น glyph ที่ใช้แทนตัว “i” กับ “w” จะมีความกว้างไม่เท่ากัน ตรงข้ามกับ typeface แบบ “Monospaced” ซึ่งแต่ละ glyph จะมีความกว้างเท่ากันเสมอ
โดย ทั่วไปแล้ว typeface แบบ proportional นั้นจะดูสวยงาม และอ่านง่ายกว่า ซึ่งเรามักจะพบเห็น typeface แบบนี้ได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ เว็บไซต์ รวมไปถึง GUI ของ application ต่างๆ
แต่ typeface แบบ monospaced ก็ใช่ว่าจะไม่มีข้อดีเลย ด้วยลักษณะที่ทุกๆ glyph มีความกว้างเท่ากันหมด จึงนิยมนำ typeface แบบนี้มาใช้กับ เครื่องพิมพ์ดีด, หน้าจอที่แสดงผลได้เฉพาะตัวอักษร(เช่น นาฬิกาดิจิตอล) รวมไปถึง หน้าจอ Terminal เป็นต้น

proportional vs monospaced typeface

บทสรุปของ Typeface vs Font

Typeface คือแบบอักษรที่ Designer ได้ออกแบบขึ้นมา ส่วน Font คือ Typeface ที่มีความต่างกันในเรื่องของความหนา ความกว้าง และความเอียง
http://www.siamhtml.com/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87-typeface-vs-font-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น